บทความวิชาการ
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา
เรื่อง : ไมโครพลาสติกส์ส์ในอาหารและผลกระทบต่อมนุษย์
ผู้แต่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย เจริญสิน
สาขาวิชา : โภชนาการและการกำหนดอาหาร
ไมโครพลาสติกส์ส์ (microplastics) คืออะไร?
ไมโครพลาสติกส์คืออนุภาคพลาสติกขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร เกิดมาจากแหล่งต่างๆ และแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ ไมโครพลาสติกส์ปฐมภูมิ (primary microplastics) และไมโครพลาสติกส์ทุติยภูมิ (secondary microplastics)
ไมโครพลาสติกส์ปฐมภูมิเป็นพลาสติกขนาดเล็กที่ผลิตขึ้นโดยเจตนา เช่น เม็ดพลาสติกในเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล หรือเม็ดพลาสติกที่ใช้ในกระบวนการอุตสาหกรรม ส่วนไมโครพลาสติกส์ทุติยภูมิเกิดจากการเสื่อมสภาพของผลิตภัณฑ์พลาสติกขนาดใหญ่ เช่น ขวดพลาสติก ถุงพลาสติก และอวนประมง เนื่องจากปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น แสงแดด ลม และคลื่น
แหล่งที่มาของไมโครพลาสติกส์มีได้หลากหลาย เช่น
o ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ผสมเม็ดพลาสติกในสครับขัดผิว ยาสีฟัน และผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลอื่นๆ
o สิ่งทอสังเคราะห์ เส้นใยที่ปล่อยออกมาระหว่างการซักเสื้อผ้าสังเคราะห์
o ขยะพลาสติก การเสื่อมสภาพของเศษพลาสติกขนาดใหญ่ในสิ่งแวดล้อม
o กระบวนการอุตสาหกรรม เม็ดพลาสติกและผงพลาสติกที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เส้นทางเข้าสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งมนุษย์มีโอกาสที่จะสัมผัสได้ในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย
ทางน้ำ ไมโครพลาสติกส์สามารถเข้าสู่แม่น้ำ ทะเลสาบ และมหาสมุทรผ่านการไหลบ่าของน้ำเสียและการทิ้งขยะ
อากาศ ไมโครพลาสติกส์สามารถลอยในอากาศและถูกพัดพาไปในระยะทางไกล
ดิน ไมโครพลาสติกส์สามารถสะสมในดินผ่านการใช้พลาสติกคลุมดินในการเกษตรและการเสื่อมสภาพของขยะพลาสติก
การแพร่กระจายของไมโครพลาสติกส์
จากการที่ไมโครพลาสติกส์พบได้ทุกที่ทั้งในอาหาร น้ำ และอากาศที่เราหายใจ นักวิทยาศาสตร์พบไมโครรลาสติกในเนื้อเยื่อมนุษย์ เช่น สมอง ตับ และไต นักวิจัยใช้วิธีการพิเศษในการแยกและติดตามไมโครพลาสติกส์ในเนื้อเยื่อมนุษย์พบว่าไมโครพลาสติกส์สามารถเข้าสู่เซลล์และอาจข้ามกำแพงเลือดสมองได้
การศึกษาวิจัยด้านระบาดวิทยาชี้ให้เห็นถึงผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ ไมโครพลาสติกส์อาจเชื่อมโยงกับโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคไต และโรคอัลไซเมอร์ การศึกษาวิจัยในสัตว์ทดลองแสดงให้เห็นว่าไมโครพลาสติกส์สามารถทำให้เกิดการตายของเซลล์ ปฏิกิริยาภูมิคุ้มกัน และความเสียหายของเนื้อเยื่อ จึงมีความจำเป็นในการดำเนินนโยบายด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพจากไมโครพลาสติกส์
ไมโครพลาสติกส์ในอาหาร
การตรวจเลือดอาสาสมัครพบว่าไมโครพลาสติกส์ในบรรจุภัณฑ์อาหารสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นอันตรายในเซลล์หลอดเลือด การศึกษาระหว่างปี ค.ศ. 2016-2024 พบว่าความเข้มข้นของไมโครพลาสติกส์ในสมองมนุษย์เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 50 และยังตรวจพบไมโครพลาสติกส์ในเนื้อเยื่อสมองในระดับที่สูงกว่าในเนื้อเยื่อตับและไต การสะสมของไมโครพลาสติกส์ในสมองของผู้ป่วยที่เสียชีวิตที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมสูงกว่าผู้ที่ไม่มีโรคสมองเสื่อม นอกจากนี้ การศึกษาใหม่ ๆ ยังชี้ให้เห็นว่าไมโครพลาสติกส์อาจเชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้ เช่น โรคหัวใจและการอักเสบในร่างกาย การศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Nature Medicine รายงานว่าประมาณร้อยละ 60 ของผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดหัวใจมีไมโครพลาสติกส์หรือนาโนพลาสติกในหลอดเลือดแดง และผู้ที่มีระดับพลาสติกสูงกว่ามีแนวโน้มที่จะเกิดหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง หรือเสียชีวิตภายในสามปีหลังการผ่าตัดมากกว่าผู้ที่ไม่มีพลาสติกในหลอดเลือด
การวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารทะเลพบไมโครพลาสติกส์มากถึงร้อยละ 99 ของตัวอย่างอาหารที่ทดสอบ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการปนเปื้อนในวงกว้างและหลากหลายสายพันธุ์ของสัตว์ทะเลที่มนุษย์นำมาประกอบอาหาร เช่นเดียวกันกับการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างเนื้อสัตว์บก เช่น หมู วัว ไก่ ที่พบไมโครพลาสติกส์ในตัวอย่างเกือบร้อยละ 90 รวมถึงเต้าหู้และอาหารทดแทนเนื้อสัตว์จากพืช
การศึกษาในอาหารทั่วไปพบระดับสารเคมีจากพลาสติกสูงในอาหารต่าง ๆ รวมถึงอาหารจานด่วน เช่น นักเก็ตไก่และแฮมเบอร์เกอร์ รวมถึงวัตถุดิบและเครื่องปรุงรสที่ใช้ประกอบอาหารในครัวเรือน การศึกษายังพบว่าฉลากอาหารที่กล่าวอ้างว่าเป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์หรือออร์แกนิกไม่ได้รับประกันว่ามีปราศจากไมโครพลาสติกส์ ผลการวิจัยเหล่านี้เน้นย้ำถึงการมีอยู่ของไมโครพลาสติกส์ในอาหารและเพิ่มความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการบริโภคไมโครพลาสติกส์ จึงจำเป็นต้องศึกษาที่มาของการปนเปื้อนและผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวจากการบริโภคไมโครพลาสติกส์เพื่อหาทางป้องกันและลดผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์
---------------------------------------------
บทความนี้เรียบเรียงจากบทความวิชาการ
1. Microplastics are everywhere — we need to understand how they affect human health. Nat Med 30, 913 (2024). https://doi.org/10.1038/s41591-024-02968-x
2. Nihart, A. J. et al. Nature Medicine https://doi.org/10.1038/ s41591-024-03453-1 (2025).
3. Hu, C. J. et al. Toxicol. Sci. 200, 235–240 (2024).
4. Marfella, R. et al. N. Engl. J. Med. 390, 900–910 (2024).
5. HOW ARE MICROPLASTICS AFFECTING OUR HEALTH? – Nature. Retrieved from https://www.nature.com/articles/d41586-025-00405-8.pdf#:~:text=HOW%20ARE%20MICROPLASTICS%20AFFECTING%20OUR%20HEALTH%3F%20They%E2%80%99re%20in,eat%2C%20breathe%20and%20live%20among.%20By%20Max%20Kozlov
ไมโครพลาสติกส์คืออนุภาคพลาสติกขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร เกิดมาจากแหล่งต่างๆ และแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ ไมโครพลาสติกส์ปฐมภูมิ (primary microplastics) และไมโครพลาสติกส์ทุติยภูมิ (secondary microplastics)
ไมโครพลาสติกส์ปฐมภูมิเป็นพลาสติกขนาดเล็กที่ผลิตขึ้นโดยเจตนา เช่น เม็ดพลาสติกในเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล หรือเม็ดพลาสติกที่ใช้ในกระบวนการอุตสาหกรรม ส่วนไมโครพลาสติกส์ทุติยภูมิเกิดจากการเสื่อมสภาพของผลิตภัณฑ์พลาสติกขนาดใหญ่ เช่น ขวดพลาสติก ถุงพลาสติก และอวนประมง เนื่องจากปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น แสงแดด ลม และคลื่น
แหล่งที่มาของไมโครพลาสติกส์มีได้หลากหลาย เช่น
o ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ผสมเม็ดพลาสติกในสครับขัดผิว ยาสีฟัน และผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลอื่นๆ
o สิ่งทอสังเคราะห์ เส้นใยที่ปล่อยออกมาระหว่างการซักเสื้อผ้าสังเคราะห์
o ขยะพลาสติก การเสื่อมสภาพของเศษพลาสติกขนาดใหญ่ในสิ่งแวดล้อม
o กระบวนการอุตสาหกรรม เม็ดพลาสติกและผงพลาสติกที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เส้นทางเข้าสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งมนุษย์มีโอกาสที่จะสัมผัสได้ในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย
ทางน้ำ ไมโครพลาสติกส์สามารถเข้าสู่แม่น้ำ ทะเลสาบ และมหาสมุทรผ่านการไหลบ่าของน้ำเสียและการทิ้งขยะ
อากาศ ไมโครพลาสติกส์สามารถลอยในอากาศและถูกพัดพาไปในระยะทางไกล
ดิน ไมโครพลาสติกส์สามารถสะสมในดินผ่านการใช้พลาสติกคลุมดินในการเกษตรและการเสื่อมสภาพของขยะพลาสติก
การแพร่กระจายของไมโครพลาสติกส์
จากการที่ไมโครพลาสติกส์พบได้ทุกที่ทั้งในอาหาร น้ำ และอากาศที่เราหายใจ นักวิทยาศาสตร์พบไมโครรลาสติกในเนื้อเยื่อมนุษย์ เช่น สมอง ตับ และไต นักวิจัยใช้วิธีการพิเศษในการแยกและติดตามไมโครพลาสติกส์ในเนื้อเยื่อมนุษย์พบว่าไมโครพลาสติกส์สามารถเข้าสู่เซลล์และอาจข้ามกำแพงเลือดสมองได้
การศึกษาวิจัยด้านระบาดวิทยาชี้ให้เห็นถึงผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ ไมโครพลาสติกส์อาจเชื่อมโยงกับโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคไต และโรคอัลไซเมอร์ การศึกษาวิจัยในสัตว์ทดลองแสดงให้เห็นว่าไมโครพลาสติกส์สามารถทำให้เกิดการตายของเซลล์ ปฏิกิริยาภูมิคุ้มกัน และความเสียหายของเนื้อเยื่อ จึงมีความจำเป็นในการดำเนินนโยบายด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพจากไมโครพลาสติกส์
ไมโครพลาสติกส์ในอาหาร
การตรวจเลือดอาสาสมัครพบว่าไมโครพลาสติกส์ในบรรจุภัณฑ์อาหารสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นอันตรายในเซลล์หลอดเลือด การศึกษาระหว่างปี ค.ศ. 2016-2024 พบว่าความเข้มข้นของไมโครพลาสติกส์ในสมองมนุษย์เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 50 และยังตรวจพบไมโครพลาสติกส์ในเนื้อเยื่อสมองในระดับที่สูงกว่าในเนื้อเยื่อตับและไต การสะสมของไมโครพลาสติกส์ในสมองของผู้ป่วยที่เสียชีวิตที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมสูงกว่าผู้ที่ไม่มีโรคสมองเสื่อม นอกจากนี้ การศึกษาใหม่ ๆ ยังชี้ให้เห็นว่าไมโครพลาสติกส์อาจเชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้ เช่น โรคหัวใจและการอักเสบในร่างกาย การศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Nature Medicine รายงานว่าประมาณร้อยละ 60 ของผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดหัวใจมีไมโครพลาสติกส์หรือนาโนพลาสติกในหลอดเลือดแดง และผู้ที่มีระดับพลาสติกสูงกว่ามีแนวโน้มที่จะเกิดหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง หรือเสียชีวิตภายในสามปีหลังการผ่าตัดมากกว่าผู้ที่ไม่มีพลาสติกในหลอดเลือด
การวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารทะเลพบไมโครพลาสติกส์มากถึงร้อยละ 99 ของตัวอย่างอาหารที่ทดสอบ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการปนเปื้อนในวงกว้างและหลากหลายสายพันธุ์ของสัตว์ทะเลที่มนุษย์นำมาประกอบอาหาร เช่นเดียวกันกับการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างเนื้อสัตว์บก เช่น หมู วัว ไก่ ที่พบไมโครพลาสติกส์ในตัวอย่างเกือบร้อยละ 90 รวมถึงเต้าหู้และอาหารทดแทนเนื้อสัตว์จากพืช
การศึกษาในอาหารทั่วไปพบระดับสารเคมีจากพลาสติกสูงในอาหารต่าง ๆ รวมถึงอาหารจานด่วน เช่น นักเก็ตไก่และแฮมเบอร์เกอร์ รวมถึงวัตถุดิบและเครื่องปรุงรสที่ใช้ประกอบอาหารในครัวเรือน การศึกษายังพบว่าฉลากอาหารที่กล่าวอ้างว่าเป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์หรือออร์แกนิกไม่ได้รับประกันว่ามีปราศจากไมโครพลาสติกส์ ผลการวิจัยเหล่านี้เน้นย้ำถึงการมีอยู่ของไมโครพลาสติกส์ในอาหารและเพิ่มความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการบริโภคไมโครพลาสติกส์ จึงจำเป็นต้องศึกษาที่มาของการปนเปื้อนและผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวจากการบริโภคไมโครพลาสติกส์เพื่อหาทางป้องกันและลดผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์
---------------------------------------------
บทความนี้เรียบเรียงจากบทความวิชาการ
1. Microplastics are everywhere — we need to understand how they affect human health. Nat Med 30, 913 (2024). https://doi.org/10.1038/s41591-024-02968-x
2. Nihart, A. J. et al. Nature Medicine https://doi.org/10.1038/ s41591-024-03453-1 (2025).
3. Hu, C. J. et al. Toxicol. Sci. 200, 235–240 (2024).
4. Marfella, R. et al. N. Engl. J. Med. 390, 900–910 (2024).
5. HOW ARE MICROPLASTICS AFFECTING OUR HEALTH? – Nature. Retrieved from https://www.nature.com/articles/d41586-025-00405-8.pdf#:~:text=HOW%20ARE%20MICROPLASTICS%20AFFECTING%20OUR%20HEALTH%3F%20They%E2%80%99re%20in,eat%2C%20breathe%20and%20live%20among.%20By%20Max%20Kozlov