- รายละเอียด
- หมวด: Research_News
- wittaya By
- ฮิต: 404
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่น และรางวัลผลการดำเนินโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม
วันที่ 25 มกราคม 2567 ผศ. ดร.สุริศักดิ์ ประสานพันธ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมด้วย ผศ. ดร.ศุภชัย เจริญสิน รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เข้าร่วมงานพะเยาวิจัยครั้งที่ 13 FRONTIER AREA BASED RESEARCH FOR SUSTAINABILITY DEVELOPMENT GOALS และรับมอบรางวัลระดับ “เหรียญเงิน” จากการประกวดนิทรรศการผลการดำเนินงานโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม ผลงานเรื่อง น้ำมันตะไคร้นาโน โดยมี ผศ.ดร.คมศักดิ์ พินธะ เป็นหัวหน้าโครงการ ลงพื้นที่ตำบลสันโค้ง อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา โดย key performance index ที่สำคัญ คือ การเพิ่มมูลค่าของตะไคร้ สร้างงาน สร้างรายได้และยกระดับสุขภาวะชุมชน
พร้อมกันนี้ นักวิจัยของคณะฯ 4 ราย ได้เข้ารับมอบประกาศนียบัตรรางวัลนักวิจัยดีเด่นจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ ประกอบด้วย
- รศ. ดร.อัจฉราภรณ์ ดวงใจ นักวิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์สูงสุดอันดับที่ 4 สายวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- ดร.อชิรญา ศิริภาพ นักวิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์สูงสุดอันดับที่ 5 สายวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- ผศ. ดร.คมศักดิ์ พินธะ รางวัลระดับ “เหรียญเงิน” โครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม
- ดร.วิทวัส สัจจาพงศ์ ระดับดีเด่นประเภทผลงานการวิจัยที่สร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์
- ดร.ธนพัฒน์ แพ่งเกษร ระดับดีมากประเภทผลงานการวิจัยที่สร้างประโยชน์เชิงพาณิชย
- รายละเอียด
- หมวด: Research_News
- wittaya By
- ฮิต: 359
วันที่ 29 กันยายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริศักดิ์ ประสานพันธ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมสัมมนาวิชาการด้านการวิจัย กับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยซากะ ประเทศญี่ปุ่น โดยมีนักวิจัยจากทั้ง 2 มหาวิทยาลัย ร่วมสัมมนาในครั้งนี้
ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.อัจฉราภรณ์ ดวงใจ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสรีรวิทยา นำเสนองานวิจัย เรื่องกาแฟต่อผลดีต่อสุขภาพ (Coffee Talk) และนักวิจัยจากประเทศญี่ปุ่น ร่วมนำเสนอทั้งหมด 5 ท่านดังนี้
Respiratory Medicine:
- Dr. Hiroki Tashiro (Title: Severity mechanisms of asthma with obesity)
Cardiology:
- Dr. Ayumu Yajima (Title: Spatiotemporal dynamics of SETD5-containing NCoR-HDAC3 complex determines enhancer activation for adipogenesis)
Thailand:
- Dr. Acharaporn Duangjai (Title: Coffee Talk: Potential health benefits of coffee)
Medicinal Science Department:
- Dr. Tatsuro Watanabe (Title: Development of novel orallybioavailable hypomethylating agent OR-2100 in hematological malignancies
Molecular Life Science Department:
- Dr. Kenji Idehara (Title: How does itching occur in atopicdermatitis and how can we control it?
ซึ่งบรรยากาศการสัมมนาวิชาการในครั้งนี้ ได้จัดขึ้นผ่านโปรแกรม Zoom Meeting ณ ห้องประชุมคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ถือเป็นการสัมมนาทวิภาคี (Bilateral Research Seminar) ครั้งแรกที่คณะฯ ได้จัดขึ้นเพื่อสร้างโอกาสให้นักวิจัย ได้ริเริ่มงานวิจัยร่วมกับนักวิจัยต่างชาติ ตลอดจนสานต่อเครือข่ายวิจัยผ่านการทำงานร่วมกัน และการจัดกิจกรรม Research Seminar ในครั้งนี้มีนักวิจัยให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังสัมมนา เช่น รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.สุรศักดิ์ เสาแก้ว คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ และมีอาจารย์จากคณะต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยพะเยา เข้าร่วมรับฟังในครั้งนี้ด้วย
- รายละเอียด
- หมวด: Research_News
- wittaya By
- ฮิต: 298
วันที่ 25 กันยายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริศักดิ์ ประสานพันธ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้การต้อนรับ ศาสตราจารย์นายแพทย์ ดร. อิซาบุโระ ซึเอโอกะ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยซากะ ประเทศญี่ปุ่น (Prof. Sueoka Eizaburo, M.D., Dean, Faculty of Medicine, Saga University, Japan) และได้เข้าพบ รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา และคณะผู้บริหารงานด้านวิจัย มหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อหารือความร่วมมือทางด้านวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้าง International research network และพัฒนาศักยภาพด้านวิจัยแก่บุคลากร
จากนั้นได้ร่วมหารือกับ รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราภรณ์ ดวงใจ ผู้ช่วยอธิการบดี และผู้บริหารหน่วยงานทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ได้นำเสนอวิสัยทัศน์ และการดำเนินงานทางด้านวิจัย ในระดับ Clinic และ Pre-Clinic ตลอดจนการแสวงหาความร่วมมือด้านวิจัย และวิชาการ เช่น การแลกเปลี่ยนนักวิจัย เพื่อการก้าวสู่ความเป็นนานาชาติ และพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
ทั้งนี้ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา มีแผนที่จะต่อยอดกิจกรรม ในรูปแบบการประชุมวิชาการนานาชาติ โดยคาดว่าจะมีเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้าร่วม ซึ่งจะทำให้คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นที่รู้จักและจดจำในระดับนานาชาติต่อไป